เวลาขับรถ เรามีเกจวัดน้ำมันที่จะได้ว่ายังเหลือวิ่งได้อีกเท่าไร แต่จักรยานไฟฟ้าก็มีเกจวัดไฟฟ้าที่เหลือได้เช่นกันนะครับ โดยอาศัยวัตต์มิเตอร์ สมมุติว่าแบตเตอร์รี่เราเป็นแบบลิเทียมไอออนฟอสเฟต มีขนาดแรงดันไฟฟ้าเป็น 48V ความจุไฟฟ้าเป็น10AH ย่อมาจาก แอมแปร์ชั่วโมง นั่นแปลว่า ถ้ามอเตอร์เรากินไฟ 1A จะใช้แบตเตอร์รี่ได้นาน 10 ชั่วโมง หรือถ้ามอเตอร์เรากินไฟ 10A เราก็จะใช้ได้ 1 ชั่วโมง พึงระลึกไว้ว่ายิ่งเร่งมอเตอร์กำลังมาก ยิ่งกินไฟมาก แบตก็จะหมดเร็ว ขับเหมือนรถเลยครับ ยิ่งเหยียบมาก น้ำมันก็หมดเร็ว
คราวนี้ ถ้าเรามีวัดต์มิเตอร์ เราต้องลองวิ่งรอบแรกดูก่อน ว่าแบตต์หมดจนไปไม่ได้แล้วจะกินไปกี่ AH เพราะ 10 AH ที่เขียน เป็นแค่ ทฤษฎี แต่ใช้จริงอาจจะเหลือแค่ 7 AH ก็ได้ เนื่องจากการสูญเสียเนื่องจากความต้านทานภายในของแบตเตอร์รี่ และวัตต์มิเตอร์อ่านได้ 270WH เราก็ต้องจำไว้ว่า ความสามารถของแบตเราจะจ่ายได้เท่านี้ ยกเว้นแต่ว่าแบตเตอร์รี่เสื่อมหรือเสีย จะจ่ายได้ไม่ถึงเท่านี้ ก็จำไว้ครับ ค่านี้จะเป็นค่าจริงที่แบตเราจะจ่ายได้
คราวนี้สมมุติว่าผมเอา จักรยานไฟฟ้าไปซื้อของหน้าปากซอย กินไฟไป 2.3AH นั้นแปลว่าแบตผมยังเหลืออีก 7-2.3 = 4.7AH ก็ยังเหลือเกินครึ่ง วิ่งได้ไปสบายๆ เลยครับ แต่ถ้าวิ่งไปแล้วอ่านค่าได้ 6AH นั้นแปลว่าแบตยังจ่ายได้อีก 1AH ก็ต้องมาดูระยะทาง ว่าใกล้ถึงที่หมายยัง ถ้ายังอาจต้องเตรียมชาร์จไฟได้เลย หรือถ้าไม่ชาร์จก็ต้องปั่นแทนละครับ
บางคนถามว่า ทำไม ไม่วัดแรงดันไฟฟ้าละ การวัดแรงดันไฟฟ้ากับแบตเตอร์รี่ลิเทียม ไม่ค่อยแม่นครับ เพราะแบตเตอร์รี่ลิเทียมเวลาใช้งานแรงดันแทบไม่ตกเลย แต่ถ้ามันตก มันจะฮวบเลยทันที แล้ววงจารภายในจะตัดการทำงานทันที เพื่อเป็นการยืดอายุแบตครับ ดังนั้นไฟที่แสดงผลระดับไฟฟ้าของจักรยานไฟฟ้า จึงวัดไม่แม่น สู้ใช้วัตต์มิเตอร์วัดไม่ได้ เพราะเป็นการวัดพลังงานที่แบตเตอร์รี่จ่ายได้จริงๆ เลยนะครับ