จีน
จีนมีประสบการณ์ที่มีการเจริญเติบโตของจักรยานไฟฟ้าและสกู๊ตเตอร์ ยอดขายกระโดดจาก 56000 คัน ในปี 1998 เป็น 21ล้านคัน ในปี 2008 และเพิ่มเป็น 120 ล้านคันในตอนต้นปี 2010 ความนิยมเริ่มมาจากรัฐบาลท้องถิ่นพยายามที่จะจำกัดจำนวนมอเตอร์ไซค์ในเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดและอุบัติเหตุ ในปลายปี 2009 มอเตอร์ไซค์ถูกห้ามใช้ หรือถูกจำกัดปริมาณกว่า 90 เมืองใหญ่ในจีน ผู้ใช้เริ่มเปลี่ยนจากจักรยานธรรมดาและมอเตอร์ไซค์เป็น จักรยานไฟฟ้าที่เป็นทางเลือกในการขับขี่ในเมือง อย่างไรก็ตามในปี 2007 มีผู้เสียชีวิตกว่า 2500 คนจากการใช้จักรยานไฟฟ้าที่ลงทะเบียนในปี 2007 ในท้ายปี 2009 สิบเมืองใหญ่ห้ามหรือจำกัดการใช้จักรยานไฟฟ้าร่วมกับมอเตอร์ไซค์ เมืองนั้นได้แต่ กวางเจา เสินเจิ้น ชางชา โฟซาน ชางชู และ ตงกวน
จีนเป็นผู้นำของโลกในการผลิตจักรยานไฟฟ้า ในปี 2009 มียอดผลิตถึง 22.2 ล้านคัน การผลิตเน้นไปยังห้าเมือง เทียนจิน เจ้อเจียง เจียงซู ชานตง และเซี่ยงไฮ้ และมียอดส่งออก 370,000 คันในปี 2009
เยอรมัน
ยอดขายจักรยานไฟฟ้าของเยอรมันเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในจากปี 2007 เป็น 2010 จาก 70,000 คันเป็น 200,000 คันต่อปี
เนเธอแลนด์
เนเธอแลนด์เป็นเมืองหลวงจักรยานของดลก มีจักรยานถึง 18 ล้านคัน และคิดเป็น 40% ของปริมาณจราจร จักรยานไฟฟ้ามีสัดส่วน 10% ในปี 2009 และยอดขายเพิ่มอย่างมากจาก 40,000 คันเป็น 153,000 คันจากปี 2006 และ 2009 ยอดขายจักรยานไฟฟ้าเป็น 25% ของยอดขายจักรยานทั้งหมดในปีนั้น ในตอนต้นปี 2010 มีจักรยานไฟฟ้าขายได้หนึ่งคันจากจักรยานธรรมดาแปดคัน ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าราคาจักรยานไฟฟ้าแพงกว่าจักรยานธรรมดาสามเท่า
ในการสำรวจการตลาดพบว่าระยะทางเฉลี่ยที่ใช้ในเมืองของจักรยานธรรมดาอยู่ที่ 6.3 กม. และระยะทางเฉลี่ยที่ใช้ในเมืองของจักรยานไฟฟ้าอยู่ที่ 9.8 กม. จากการสำรวจพบกว่า เจ้าของจักรยานไฟฟ้าส่วนหนึ่งคือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ใช้ในเมือง จักรยานไฟฟ้าใช้ในการสันทนาการ การเดินทาง ซื้อของ และ ใช้ให้ทำงาน
อเมริกา
ในปี 2002 กฎหมายแห่งชาติได้แยกประเภทพาหนะสองล้อมีเท้าถีบรูปแบบใดๆก็ตาม ให้มีความเร็วไม่เกิน 32 กม/ชม เป็นจักรยาน ทำให้กำจัดความสงสัยในสถานะของจักรยาน แต่ข้อจำกัดยังขึ้นกับพื้นที่แต่ละรัฐ รัฐส่วนใหญ่จำกันกำลังมอเตอร์ไว้ที่ 750 W ในปี 2009 จักรยานไฟฟ้ามีอยู่ประมาณ 200,000 คัน
ไทย
จักรยานไฟฟ้าเริ่มเข้ามาให้เห็นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากปัญหาการจราจรและราคาน้ำมันที่แพงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้ใช้จักรยานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดในเรื่องการใช้จักรยานไฟฟ้าในประเทศไทย แต่เราควรจะยึดหลักการขับขี่จักรยานให้ปลอดภัย การใช้หมวกกันน็อค ผู้ขับขี่ควรมีอายุมากกว่า 14 ปี การวิ่งสวนทางควรหลีกเลี่ยงและการปฏิบัติตามกฎจราจรและทางเท้า การติดไฟหน้ารถ และแตรก็สามารถช่วยในเรื่องความปลอดภัย
อ้างอิง
Electric bicycle, From Wikipedia, the free encyclopedia